บทความและการแก้ไข



ลบบล๊อกโพสต์
หากต้องการลบโพสต์ใดโพสต์หนึ่งโดยเฉพาะ เพียงไปที่แท็บ โพสต์ จากหน้าแดชบอร์ดของคุณและวางเมาส์เหนือโพสต์ที่คุณต้องการลบ ลิงก์ ลบ จะปรากฏขึ้นมาเมื่อวางเมาส์เหนือตำแหน่งนั้น - คลิกที่นั่นแล้วยืนยันการลบ หากต้องการลบหลายโพสต์ในครั้งเดียว คุณสามารถทำเครื่องหมายในกล่องที่อยู่ข้างทุกโพสต์ที่คุณต้องการลบและคลิกไอคอนถังขยะ
เมื่อคุณลบโพสต์ โพสต์ดังกล่าวจะถูกลบออกจากบล็อกของคุณ ถ้าคุณโพสต์เนื้อหาไว้ในที่อื่นๆ ด้วย เช่นโพสต์ Google+ (ดูตัวอย่างด้านล่าง) คุณจะต้องลบเนื้อหานั้นต่างหาก หลังจากลบบล็อกโพสต์แล้ว ลิงก์ใดๆ ที่ไปยังบล็อกโพสต์นั้นจะแสดงหน้าข้อผิดพลาด 404


ลิงก์ไปยังเว็บไซต์อื่น
  1. ไฮไลต์ข้อความที่ต้องการเปลี่ยนเป็นลิงก์ หากไม่เลือกข้อความก่อนใช้ปุ่มลิงก์ ระบบจะสร้างลิงก์แต่จะไม่มีข้อมูลให้คลิก
  2. คลิกปุ่มลิงก์ (หรือกด control+shift+a บนแป้นพิมพ์):
  3. หน้าต่างป๊อปอัปจะปรากฏขึ้น และแจ้งให้ป้อน URL ที่ต้องการเชื่อมโยงไปยังลิงก์ พิมพ์ URL ดังกล่าวในช่องข้อความ
หากเบราว์เซอร์ไม่แสดงปุ่มลิงก์ หรือปุ่มลิงก์ไม่ทำงานเพราะเหตุผลใดก็ตาม คุณจะสามารถพิมพ์ลิงก์ด้วยตัวเอง โดยคลิกแก้ไข HTML และพิมพ์ข้อความนี้
ข้อความ

ต่อไปนี้คือสถานการณ์ตัวอย่าง

สมมติว่าต้องการบอกคนอื่นๆ เกี่ยวกับเว็บไซต์ที่คุณพบ โดยสมมติว่าชื่อ www.somecoolwebsite.com ตัวอย่างข้อความที่สามารถพิมพ์ลงไปในบล็อกได้แก่
สวัสดีทุกคน ดู เว็บไซต์นี้สิ
 ฉันเจอมา เป็นเว็บไซต์ที่น่าสนใจมากๆ
ในตัวอย่างนี้ คำว่า "เว็บไซต์" จะลิงก์ไปที่ www.somecoolwebsite.com โดยระบบจะแสดงคำนั้นด้วยคำที่ขีดเส้นใต้สีน้ำเงินบนบล็อกของคุณ สิ่งสำคัญที่ควรทราบได้แก่
  1. ข้อความในส่วน "a href" ต้องอยู่ในวงเล็บแบบนี้<> เพราะจะช่วยให้คอมพิวเตอร์รู้ว่าคุณกำลังป้อน HTML ไม่ใช่แค่พิมพ์ข้อความธรรมดา
  2. เว็บไซต์ที่ต้องการลิงก์ต้องอยู่ในเครื่องหมายคำพูด และต้องเริ่มด้วย http:// เสมอ หากไม่มี http:// ลิงก์จะไม่ทำงาน
  3. ข้อความที่พิมพ์หลัง > ซึ่งปิดส่วนที่เขียนที่อยู่เว็บไซต์จะเป็นลิงก์จริงๆ ที่แสดงบนบล็อกของคุณ แท็กดังกล่าวทำให้คอมพิวเตอร์ทราบว่าข้อความที่ตามมาเป็นเพียงข้อความธรรมดา และไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของลิงก์ หมายเหตุ: คุณต้องใส่ข้อความลงไป มิฉะนั้นระบบจะคิดว่าส่วนที่เหลือในโพสต์เป็นลิงก์ และอาจทำให้เกิดความบกพร่องที่ไม่พึงประสงค์
แม่แบบบทความคืออะไร
แม่แบบบทความจะช่วยให้ผู้ใช้สามารถประหยัดเวลาด้วยการจัดรูปแบบของเครื่องมือแก้ไขบทความก่อน ผู้ใช้บางรายชอบให้มีการจัดรูปแบบบทความในลักษณะที่ต้องการ ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างที่ผู้ใช้เชื่อมโยงไปยังบทความในบรรทัดแรก และยกมาไว้ด้านล่าง:
การค้นหาโพสต์เก่า

คุณสามารถแก้ไขโพสต์ทั้งหมดได้ในแท็บ โพสต์ ซึ่งสามารถเข้าถึงได้จากเมนูแบบเลื่อนลงในแดชบอร์ด
แก้ไขโพสต์> <p>คุณสามารถใช้ช่องค้นหาที่ด้านบนขวาเพื่อกรองโพสต์ในรายการให้ปรากฏเฉพาะคำที่ต้องการได้ ถัดจากช่องค้นหาคือเมนูแบบเลื่อนลงสำหรับป้ายกำกับ คุณสามารถคลิกที่ป้ายกำกับในเมนูและคุณจะเห็นโพสต์ที่มีป้ายกำกับนั้น นอกจากนี้คุณยังสามารถเปลี่ยนจำนวนโพสต์ที่ปรากฏ หรือใช้ลูกศรเพื่อเลื่อนย้อนกลับไปตามลำดับเวลา</p> <img src=
ทางด้านซ้ายของรายการโพสต์ คุณจะพบลิงก์ที่แสดงเฉพาะข้อความร่าง หรือเฉพาะโพสต์ที่เผยแพร่
ค้นหาข้อความร่างหรือโพสต์ที่เผยแพร่แล้ว

หมายเหตุ : คุณสามารถใช้ ลิงก์แก้ไขด่วน เพื่อแก้ไขโพสต์ของคุณโดยตรงจากข้อมูลที่เก็บถาวรของคุณ นี่คือตัวเลือกที่ง่ายที่สุดในการค้นหาและแก้ไขโพสต์เดิมจากวันที่ที่ต้องการ
ข้อจำกัดในบล๊อกเกอร์
เราพยายามให้คุณมีพื้นที่เล่นอย่างเหลือเฟือในบล็อกเกอร์ ดังนั้นคุณจะเห็นว่า "ขีดจำกัด" สำคัญๆ จำนวนมากนั้นแท้จริงแล้วไม่ได้เป็นข้อจำกัดเลย แต่ถ้าคุณสงสัย ต่อไปนี้เป็นข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งที่จะเก็บไว้ในบัญชีบล็อกเกอร์ได้
จำนวนบล็อก: บัญชีหนึ่งสามารถมีบล็อกได้ถึง 100 บล็อก
จำนวนโพสต์: ในแต่ละบล็อกสามารถมีโพสต์ได้ไม่จำกัดจำนวน โพสต์จะถูกบันทึกไว้ในบัญชีของคุณ (ยกเว้นกรณีที่คุณลบออกด้วยตนเอง) ไม่ว่าจะมีการเผยแพร่ชุดข้อมูลที่เก็บถาวรหรือไม่
ขนาดโพสต์: แต่ละโพสต์ไม่มีการจำกัดขนาด แต่โพสต์ที่มีขนาดใหญ่มากอาจถูกนับรวมเข้ากับขนาดจำกัดของหน้าเว็บ (ดูข้อถัดไป)
ขนาดของหน้าเว็บ: หน้าเว็บแต่ละหน้า (หน้าหลักของบล็อก หรือหน้าที่เก็บถาวร) ต้องมีขนาดไม่เกิน 1 MB ขีดจำกัดนี้รองรับข้อความได้สองหรือสามร้อยหน้า แต่ถ้าคุณแสดงโพสต์จำนวนนับร้อยรายการไว้ในหน้าแรกของบล็อก ก็อาจจะเป็นปัญหาได้เช่นกัน ถ้าคุณใช้พื้นที่ถึงขีดจำกัดนี้ คุณจะพบข้อความแสดงข้อผิดพลาด "006 โปรดติดต่อฝ่ายสนับสนุนของบล็อกเกอร์" คุณสามารถหลีกเลี่ยงข้อผิดพลาดนี้ได้โดยลดจำนวนโพสต์ ในหน้าหลัก ซึ่งจะมีข้อดีอีกประการคือทำให้หน้าเว็บของคุณโหลดได้เร็วขึ้นด้วย
จำนวนความคิดเห็น: โพสต์หนึ่งจะมีความคิดเห็นกี่รายการก็ได้ สำหรับโพสต์ที่เก็บถาวร ถ้าคุณเลือกที่จะซ่อนความคิดเห็นในบล็อก ระบบจะบันทึกความคิดเห็นที่มีอยู่แล้วทั้งหมดในบัญชีของคุณ
จำนวนรูปภาพ: มีพื้นที่เก็บข้อมูลรวม 1 GB โดยใช้ร่วมกับ Picasa Web หากอัปเกรดเป็น Google+ ระบบจะจัดเก็บรูปภาพของคุณไว้ใน Google+ Photos ซึ่งจะมีพื้นที่จัดเก็บถึง 15GB โดยจะใช้ร่วมกับ Gmail และไดรฟ์
ขนาดรูปภาพ: หากโพสต์รูปภาพผ่านบล็อกเกอร์สำหรับมือถือ แต่ละภาพจะมีขนาดได้ไม่เกิน 250 K
สมาชิกในทีม: แต่ละบล็อกมีสมาชิกในทีมได้ไม่เกิน 100 คน
จำนวนป้ายกำกับ: แต่ละบล็อกมีป้ายกำกับที่ไม่ซ้ำกันได้ 2000 ป้ายกำกับ และโพสต์ละ 20 ป้ายกำกับ
คำอธิบายบล็อก: ระบบจำกัดอักขระไม่เกิน 500 ตัว โดยไม่มี HTML หากมีอักขระเกินกว่านี้หรือมี HTML ระบบอาจเปลี่ยนกลับไปใช้การตั้งค่าก่อนหน้า
ข้อมูลโปรไฟล์ "เกี่ยวกับฉัน": จำนวนอักขระสูงสุดที่มีได้คือ 1,200 ตัว
ความสนใจและรายการโปรดในโปรไฟล์: แต่ละฟิลด์มีจำนวนอักขระสูงสุดได้ไม่เกิน 2,000 ตัว
หมายเหตุ ผู้ใช้บริการ BlogSpot Plus ซึ่งหยุดให้บริการแล้วจะมีการตั้งค่าที่แตกต่างไปเล็กน้อย เนื่องจากบัญชีเหล่านี้มีการเข้าถึง FTP อย่างสมบูรณ์ จึงมีขีดจำกัด 25 เมกะไบต์หรือ 100 เมกะไบต์ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประเภทของการอัปเกรดที่ดำเนินการไว้ ในกรณีเหล่านี้ ถ้าคุณใช้พื้นที่ที่มีให้เพื่อเก็บภาพหรือไฟล์อื่นๆ จนเต็ม คุณอาจไม่สามารถอัปโหลดโพสต์ใหม่ ในการหลีกเลี่ยงปัญหานี้ คุณจะต้องนำไฟล์ที่ไม่ได้ใช้ออกจากบัญชี เพื่อให้มีพื้นที่ว่างเพิ่มเติม
การวางกำหนดการโพสต์
ถ้าคุณต้องการให้โพสต์ของคุณมีการเผยแพร่โดยอัตโนมัติตามวันที่และเวลาที่ต้องการ คุณสามารถวางกำหนดการโพสต์ได้ในเครื่องมือแก้ไขโพสต์ ในส่วน "การตั้งค่าโพสต์" ทางขวามือ ให้คลิกที่ วางกำหนดการ
ตัวเลือกวางกำหนดการในการตั้งค่าโพสต์
ถ้าคุณเลือก ตั้งค่าวันที่และเวลา คุณจะสามารถเลือกวันที่และเวลาในปฏิทิน เพื่อที่จะเผยแพร่โพสต์ของคุณโดยอัตโนมัติได้
ตั้งค่าวันที่และเวลาสำหรับโพสต์ของคุณ
เมื่อคุณเลือกวันที่และเวลาใหม่ โปรดคลิกที่ เผยแพร่ ด้วย อย่ากังวล โพสต์ของคุณจะได้รับการเผยแพร่ตามวันที่และเวลาที่คุณกำหนดไว้ในการตั้งค่า
การแก้ไขสิ่งที่เขียนแล้ว
คุณสามารถแก้ไขโพสต์โดยคลิกที่ "โพสต์" จากเมนูแบบเลื่อนลงในหน้าแดชบอร์ด แก้ไขโพสต์
จากจุดนี้ ให้คลิกที่ลิงก์ "แก้ไข" ถัดจากโพสต์ที่คุณต้องการแก้ไข:
แก้ไขข้อความร่าง
ซึ่งจะนำคุณไปยังฟอร์มการโพสต์ที่ประกอบด้วยโพสต์ทั้งหมดที่คุณเขียน และมีการเผยแพร่แล้วหรือบันทึกเป็นข้อความร่างไว้ เมื่อแก้ไขเสร็จแล้ว คุณสามารถคลิก ดูตัวอย่าง เพื่อดูว่าโพสต์ของคุณมีลักษณะเป็นอย่างไรในบล็อก หรือไปที่ เผยแพร่ โดยตรง
เผยแพร่บทความ

การสร้างหน้าใหม่ในบล๊อก
คุณสามารถจัดระเบียบบล็อกเป็นส่วนต่างๆ ได้ เช่น “เกี่ยวกับฉัน” “ติดต่อฉัน” หรือ “โฆษณา” โดยอาศัยหน้าเว็บ หน้าเว็บจะปรากฏเป็นแท็บอยู่ที่ด้านบนของหน้าหรือปรากฏเป็นลิงก์ที่ด้านข้างของหน้า หน้าเว็บจะแตกต่างจากหน้าแรกเนื่องจากมักจะใช้เพื่อแสดงเนื้อหาที่ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงบ่อยๆ ตัวอย่างเช่น บล็อกด้านล่างนี้มีหน้าเว็บ “เกี่ยวกับฉัน” “เวิร์กช็อปและชั้นเรียน” “ซื้อสินค้าออนไลน์” และอื่นๆ

สร้างหน้าใหม่

  1. ลงชื่อเข้าใช้ใน blogger.com และคลิกที่บล็อกของคุณ
  2. เลือก "หน้า" จากแถบนำทางด้านซ้ายบนหน้าแดชบอร์ดของคุณ
  3. คลิก หน้าใหม่
  4. คลิก บันทึก เพื่อสร้างหน้าเว็บฉบับร่างที่คุณสามารถตรวจทานหรือเผยแพร่ได้ในภายหลัง คุณยังสามารถคลิก แสดงตัวอย่าง เพื่อเปิดแท็บใหม่ที่แสดงตัวอย่างหน้าเว็บที่คุณกำลังสร้าง และคลิก เผยแพร่ เพื่อสร้างหน้าเว็บบนบล็อกทันที

แก้ไขหน้า

คุณสามารถแก้ไขหน้าที่คุณสร้างเพื่อเพิ่มเนื้อหา รูปภาพ หรือวิดีโอใหม่ได้
  1. เลือก “หน้า” จากเมนูแบบเลื่อนลงของหน้าแดชบอร์ด
  2. คลิกลิงก์ “แก้ไข” ที่ด้านล่างของหน้าเว็บที่ต้องการแก้ไข
  3. แก้ไขในหน้าเว็บของคุณ
  4. คลิก อัปเดต เพื่อเผยแพร่เนื้อหาที่แก้ไขในหน้าเว็บ หรือคลิก เปลี่ยนกลับเป็นฉบับร่าง เพื่อเผยแพร่หน้าเว็บในภายหลัง คุณยังสามารถคลิก แสดงตัวอย่าง เพื่อเปิดแท็บใหม่ เพื่อดูว่าหน้าเว็บที่แก้ไขแล้วจะเป็นอย่างไร
การเขียนโพสต์แบบร่าง
ข้อความร่างคือโพสต์ที่อยู่ระหว่างการจัดทำ โพสต์ประเภทนี้จะไม่ปรากฏในบล็อกของคุณ แต่คุณสามารถเข้าถึงได้จากหน้าแดชบอร์ด ถ้าคุณต้องการแก้ไขและเผยแพร่ในภายหลัง
ในการทำเครื่องหมายโพสต์ว่าเป็นข้อความร่าง ให้คลิก บันทึก ที่ด้านบนของเครื่องมือแก้ไขโพสต์ เมื่อคุณร่างโพสต์เสร็จแล้ว
บันทึกโพสต์ของคุณ
เมื่อต้องการแก้ไขโพสต์ร่าง ให้คลิกที่ โพสต์ จากเมนูแบบเลื่อนลงบนหน้าแดชบอร์ด จากนั้นคลิกที่ "แก้ไข" ถัดจากโพสต์ที่ต้องการแก้ไข
แก้ไขข้อความร่างของคุณ
ในรายการจะมีสัญลักษณ์ที่บอกว่าโพสต์ใดเป็นข้อความร่าง กล่าวคือจะไม่มีลิงก์ "ดู" เช่นเดียวกับโพสต์ที่เผยแพร่แล้ว และจะมีคำว่า "ข้อความร่าง" ที่ด้านขวาของชื่อ
ข้อความร่างนั้นสามารถเผยแพร่ได้ และโพสต์ที่เผยแพร่แล้วก็สามารถแปลงกลับเป็นข้อความร่างได้ด้วยการคลิกที่ปุ่ม "เผยแพร่" หรือ "เปลี่ยนกลับเป็นข้อความร่าง" เมื่อแก้ไขโพสต์ เมื่อคุณคลิก "เผยแพร่" การเปลี่ยนแปลงควรปรากฏให้เห็นทันทีหลังจากที่กระบวนการเผยแพร่เสร็จสมบูรณ์ ยกเว้นกรณีที่คุณเลือกที่จะ วางกำหนดการโพสต์ ในบางกรณี การแสดงโพสต์อาจใช้เวลาสักครู่ ถ้าไม่เห็นการแก้ไขล่าสุดทันที โปรดรีเฟรชหน้าเว็บในเบราว์เซอร์
ลิงก์แก้ไขด่วน
ลิงก์แก้ไขด่วนจะช่วยให้คุณสามารถเข้าถึงแบบด่วนเพื่อแก้ไขโพสต์ของคุณได้โดยตรงหลังจากที่ได้เผยแพร่โพสต์นั้นไปแล้ว มาลองดูสถานการณ์สมมติกัน เริ่มจากคุณได้เผยแพร่โพสต์ที่มีความยาวมาก จากนั้นก็เริ่มอ่านทบทวนโพสต์นั้นในบล็อกของคุณ คุณพบข้อผิดพลาด ก็เลยกลับไปที่หน้า แก้ไขโพสต์ ของบล็อกเกอร์ ค้นหาโพสต์นั้น แล้วทำการแก้ไข/เผยแพร่โพสต์อีกครั้ง คุณอ่านทบทวนต่อ แต่ก็ยังคงพบข้อผิดพลาดซ้ำแล้วซ้ำเล่า ลิงก์แก้ไขด่วนจะนำคุณไปยังโพสต์ดังกล่าวในบล็อกเกอร์ได้โดยตรง โดยสามารถเลี่ยงผ่านกระบวนการ (ส่วนใหญ่) ตามที่อธิบายไว้ก่อนหน้านี้ได้
การที่ลิงก์แก้ไขด่วนสามารถทำสิ่งนี้ได้ก็เพราะใช้คุกกี้ ซึ่งจะปรากฏให้เห็นก็ต่อเมื่อคุณลงชื่อเข้าใช้บัญชี Google ของคุณแล้วเท่านั้น ดังนั้นจึงไม่มีใครสามารถเห็นได้นอกจากคุณ เมื่อต้องการเปิดใช้งานคุกกี้ ให้ไปที่แท็บ "การออกแบบ" ในบล็อกของคุณ แล้วเลือก “แก้ไข” ภายใต้วิดเจ็ตโพสต์ของบล็อก
จากที่นั่น ให้เลือกกล่อง "แสดงการแก้ไขด่วน"
โดยลิงก์แก้ไขด่วนจะมีลักษณะดังนี้:
ลิงก์แก้ไขด่วน
//////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น